ห้องนมัสการห้องหนึ่งของคริสตจักร Saddleback Church |
กรณีศึกษาจากคริสตจักร Saddleback โดย ริค วอเรน
เขียนโดย ดร.ศิลป์ชัย เชาว์เจริญรัตน์ (Th.D)
ภาพแผนภูมิที่ท่านผู้อ่านเห็นอยู่ขณะนี้คือ แผนภูมิของคริสตจักรที่ชื่อ Saddleback Church ซึ่งศบ.คือ ดร.ริค วอเรน ซึ่งคงไม่ต้องอธิบายชื่อเสียงและผลงานของท่านอีก
แต่ส่วนใหญ่คนจะรู้จักท่านและคริสตจักรนี้เพียงแง่มุมที่ว่า เป็นคริสตจักรขนาดยักษ์หรือเมก้าเชิร์ช ในสหรัฐ ที่มีสมาชิกนับหมื่นคน (ปัจจุบันราวสามหมื่น) แต่มักไม่มีใครพูดถึงลักษณะพิเศษอะไรบางอย่างที่ซ่อนอยู่ด้วย
แผนภูมินี้มีไว้เพื่อประชาสัมพันธ์ให้คนที่มานมัสการที่คริสตจักรที่นี้ทราบว่า มีนมัสการหลายๆ ห้อง! แต่่ละห้องมีหลายรอบ และที่สำคัญคือ แต่ละห้องมีสไตล์การนมัสการแตกต่างกัน!
แผนภูมินี้มีไว้เพื่อประชาสัมพันธ์ให้คนที่มานมัสการที่คริสตจักรที่นี้ทราบว่า มีนมัสการหลายๆ ห้อง! แต่่ละห้องมีหลายรอบ และที่สำคัญคือ แต่ละห้องมีสไตล์การนมัสการแตกต่างกัน!
ในแผนภูมิระบุว่ามีห้องนมัสการ 9 ห้อง (ซึ่งสมัยที่ผมไปหลายปีก่อนนั้นมีเพียง 6 ห้อง) ขออธิบายเพิ่มเติมว่า แต่ละห้องใหญ่ไม่เท่ากัน บางห้องใหญ่มากจุได้เป็นหมื่นคน แต่บางห้องก็เล็กจุได้เพียงร้อยกว่าคน)
ห้องแรกเรียกว่า Worship Center ก็คือเป็นห้องศูนย์กลาง มีนมัสการทั้งเสาร์-อาทิตย์ และมีหลายรอบ ไม่ได้บอกสไตล์การนมัสการ แต่ที่ผมเคยไปจะเป็นดนตรีสไตล์ป๊อบ ร่วมสมัย หรือContemporary นั่นเอง ห้องสองเรียก Praise เป็นการนมัสการแบบคณะนักร้องประสานเสียง ห้องนี้จะร้องเพลงยาวกว่าห้องแรก ห้องสาม Overdrive ชื่อก็บอกชัดเลยว่าเป็นแบบ ร๊อคแอนด์โรล และเสียงดังโฉ่งฉ่าง แน่นอนว่ามีไว้เพื่อตอบสนองวัยรุ่นโดยเฉพาะ จำได้ว่าตอนที่ไป ผู้นำย้อมสีผม ใส่กางเกงขาดๆ ด้วย แสงสีเต็มที่ และที่นั่งของผู้นมัสการก็แปลกมาก คือนั่งกันเป็นกลุ่มๆ แยกเป็นโต๊ะๆ ใช้โต๊ะกลม นึกว่าอยู่ในผับเลย ห้องสี่ชื่อ Ohana ในแผนภูมิบอกว่าตอนนี้ไม่มี แต่สมัยที่ผมไปนั้นยังมีอยู่ และไปได้ดีใช้ได้เลยทีเดียว เป็นการนมัสการแบบเพลงฮาวาย ใช้กีต้าร์โปร่ง และเครื่องเคาะ ประสานเสียงแบบฮาวาย อ้อ ทีมผู้นำของโอฮานาเคยมาทำพันธกิจและเยี่ยมผมที่เมืองไทยด้วย
ห้องที่ห้าืื่ชื่อ Elevation เน้นสำหรับคนโสด คำสอนก็จะเป็นแบบสด ห้องหกชื่อ Family ก็เป็นบรรยากาศครอบครัว แบบพ่อแม่ที่มีลูกเล็กๆ มาอยู่ด้วยกัน ห้องเจ็ดชื่อ El Encuentro หรือ Encounter ชื่อเป็นภาษาสเปนก็คงบอกความเป็นละตินชัดเจน ครับเป็นนมัสการด้วยภาษาและสไตล์ละติน เทศนาก็เป็นภาษาสเปน ห้องแปดชื่อ Traditions แปลว่าประเพณี นึกออกไหมครับว่าจะเป็นสไตล์อะไร ถูกแล้วครับ เป็นการนมัสการโดยใช้เพลง Hymn และประสานเสียงแบบเพลงชีวิตคริสเีตียนที่เรารู้จักกันดี และห้องสุดท้ายชื่อ Fuse เป็นห้องที่เพิ่งมีทีหลังสุด แปลกมาก มีไว้รองรับคนวัยยี่สิบกว่าๆ ถึงสามสิบกว่าๆ นมัสการจะสั้นๆ และฟังคำเทศนาคำสอนสดๆ (ห้องอื่นใช้ถ่ายทอดมาจากห้องรวม) และไม่ยาวมาก ที่น่าสนใจคือ ทานอาหารและของว่างไปด้วยได้!
ผมจำได้ว่าช่วงที่อยู่นั้นชอบมาก ผมเวียนนมัสการเข้าๆ ออกๆ ทุกห้อง เข้าหลายวันและวันละหลายรอบ ไม่จำเจ ไม่เบื่อ และชอบนมัสการในหลายๆ แบบอยู่แล้วด้วย ฟังเทศน์ก็ได้ฟังหลายคนหลายแนว ฟังนักเทศน์คนเดียวนานๆ เบื่อเหมือนกัน
ผมจำได้ว่าช่วงที่อยู่นั้นชอบมาก ผมเวียนนมัสการเข้าๆ ออกๆ ทุกห้อง เข้าหลายวันและวันละหลายรอบ ไม่จำเจ ไม่เบื่อ และชอบนมัสการในหลายๆ แบบอยู่แล้วด้วย ฟังเทศน์ก็ได้ฟังหลายคนหลายแนว ฟังนักเทศน์คนเดียวนานๆ เบื่อเหมือนกัน
อ้อทั้งหมดนี้ยังไม่นับห้องคริสตจักรเด็กที่มีแยกอีกอาคารหลังหนึ่งต่างหากนะครับ จะเรียกว่าห้องที่สิบก็ได้ ห้องหรือตึกคริสตจักรเด็กนี่มีอุปกรณ์เด็กเล่นเพียบ และไฮเท็ค จนตรึงเด็กๆ อยู่หมัดเลย ผมไม่เห็นเด็กคนไหนพอมาแล้วร้องไห้อยากกลับบ้านนะ แต่ผมกลับเห็นผู้ใหญ่หลายคนอยากอยู่เล่นของเล่นเด็กมากกว่า
สิ่งที่เกิดขึ้นที่นี่ทำให้เราเห็นได้ว่า คริสตจักรแห่งหนึ่งๆ ไม่จำเป็นต้องมีการนมัสการรวมในห้องเดียว ในรอบเดียว และมีการนมัสการรูปแบบเดียว
คริสตจักรหนึ่งแห่ง สามารถแบ่งอาคารหรือห้องนมัสการได้หลายห้อง และจัดการนมัสการได้หลายรูปแบบ และยิ่งกว่านั้นคือ คริสตจักรอื่นๆ ก็สามารถมาใช้ห้องเหล่านั้นมานมัสการไปพร้อมๆ กันกับเราได้ และไม่จำเป็นต้องนมัสการเหมือนๆ กัน และในบางคริสตจักรในบางประเทศ มีคริสตจักรอื่นมาร่วมใช้อาคารด้วยอีก 2-3 คริสตจักร ในลักษณะนี้ อันนี้เรียกได้ว่าเป็น คริสตจักรเครือข่ายร่วมอาคาร หรือ Building-shared Network Church
โมเดลนี้ยังมีที่ลึกกว่านี้อีกครับ และน่าสนใจมากจริงๆ คือแบบบที่ว่า หลายคริสตจักรมานมัสการร่วมกันเลย หมายความว่านมัสการโดยนั่งอยู่ในห้องเดียวกันเลย แต่แบ่งกันทำหน้าที่ ส่วนเงินถวายใช้ใส่ซอง และระบุที่ซองว่าเป็นของคริสตจักรอะไร แล้วเวลาเก็บซองถวายก็แยกกันนำไปบริหาร แต่ก็ช่วยกันรับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนกลางด้วย เป็นเหมือนกับคริสตจักรหุ้นส่วนเลย (บางคนบอกผมว่า ถ้าจะให้เปรียบเทียบก็คงเหมือนกับศูนย์อาหารหรือฟู๊ดเซ็นเตอร์ ที่มีหลายๆ ร้านมาใช้ที่เดียวกันได้ แล้วก็ช่วยกันรับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนกลาง ผมก็ไม่แน่ใจว่านี่เป็นการเปรียบเทียบที่สมบูรณ์ไหม แต่ฟังแล้วก็เห็นภาพง่ายดี) นี่เรียกว่าเป็นแบบที่ีหลายคริสตจักรสามารถนมัสการร่วมกันได้ แน่นอน หลายท่านคงมีคำถามเกิดในใจหลายอย่าง แต่มันก็เกิดขึ้นแล้วจนได้! อย่างนี้อาจเรียกว่าเป็น Blended Network Church
อยากเห็นอย่างนี้ในประเทศเราบ้าง!
สุดยอดเลยครับ คริสตจักรใหญ่ยังเข้าใจเรื่องเน็ตเวิร์คเชิชร์ อยากเห็นในเมืองไทยครับ
ตอบลบใช่เลยครับ อยากให้เมืองไทยมีเร็วๆ
ตอบลบนี่เรียกได้ว่าเป็น สิบคริสตจักรรวมกันเป็นหนึ่งคริสตจักรได้ไหมคะ
ตอบลบสุดยอดความคิดสร้างสรรค์เลย
ตอบลบจริงๆด้วยนะ ทำไมคริสตจักรต้องนมัสการแบบเดียว บางทีก็อยากเปลี่ยนบรรยากาศบ้าง
ตอบลบไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า....
ตอบลบเชื่อว่าเป็นพระประสงค์ และน้ำพระทัยของพระเจ้าที่ปรารถนาจะเห็น พระกายของพระองค์ในยุคสุดท้ายนี้รวมตัวกันอย่างแท้จริง ก่อนที่พระเยซูคริสต์จะเสด็จกลับมา เพื่อให้พระมหาบัญชาของพระองค์สำเร็จ ผ่านทางชีวิตของพวกเราที่เป็นผู้เชื่อทุกๆคน ในการร่วมรับใช้ องค์พระผู้ช่วยให้รอดของเรา และสำหรับทุกๆท่านที่มีภาระใจด้วย เพื่อนำจิตวิญญาณของผู้คนที่อยู่ในอาณาจักรแห่งความมืด เข้าสู่อาณาจักรแห่งความสว่างของพระเจ้า เพื่อช่วยให้ พวกเค้าพ้นจากการถูกครอบงำของมารซาตาน ด้วยความรักของพระเจ้า และความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันอย่างที่องค์พระเยซูคริสต์ได้สั่งพวกเราไว้....เอเมน...
สุดยอดดดดดด
ตอบลบเจน
ชอบมากกกก
ตอบลบสุดยอดคริสตจักรใหญ่ อเม”กา
ตอบลบสุดยอดคิดก้าวหน้า ยอดเยี่ยม
คริสตจักรไทยควรมา เรียนจาก สิ่งดี
ออกจากกรอบธรรมเนียม เยี่ยมแท้ โตไว(seksan)